ปลาพลวงชมพู
ปลาพลวงชมพู
หรืออีกันกือเลาะ เป็นปลามาห์เซียร์ที่มีสีสันสวยงาม ครีบเป็นสีชมพูจนถึงแดงสด
ในประเทศไทย พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก
พบมากโดยเฉพาะในน้ำตกฮาลา-บาลา ภายในอุทยานแห่งชาติฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา
เป็นปลาที่มีรสชาติดี กินได้ถึงเกร็ด เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา
มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละกว่า 1,000 บาท มีชื่อเรียกเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า
"กือเลาะฮ" หรือ "กือเลาะฮแมเลาะฮ"
ในปี พ.ศ. 2524 ปลาพลวงชมพูอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนบางลาง ทำให้สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ
ต่อมามีการรวบรวมพันธุ์ปลาจากคลองฮาลา-บาลาเพื่อเพาะขยายพันธุ์ แต่ก็ยังเพาะได้น้อยมาก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เสด็จเขื่อนบางลางและได้ทรงปล่อยพันธุ์ปลาลงเขื่อน ต่อมาทรงมีพระราชดำริให้มีหาปลาพลวงชมพูมาเลี้ยงไว้ในฟาร์มพระราชดำริ
จนกระทั่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้มากแล้วในปัจจุบันโดยสถานีประมงจังหวัด ยะลา
และถือเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา
ชนิดของปลากือเลาะห์
อีแกกือเลาะห์ เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลามาห์เซียร์
ในภาษามลายู
ในเขตตะวันออกเฉียงใต้
3 สายพันธุ์หลักของ Tor
tambroides,
T. douronensis และT. tambra
– อาศัยอยู่ในต้นน้ำและไหลอย่างรวดเร็วน้ำเย็น และมีเกาะแก่ง
เช่นเดียวกับ มาห์เซียร์ในประเทศอื่น ๆ ในมาเลเชีย มาห์เซียร์เป็นที่นิยมมาก
แต่มาห์เซียร์ ของมาเลเซียได้ลดลงอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมรบกวนของมนุษย์ของระบบนิเวศทางน้ำและตกปลามากเกินไป
อีแกกือเลาะห์ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามชนิดย่อยอีก
เช่น "Tor tambroides" Ikan
Kelah Merah “Tor duoronensis” Ikan Kelah Hijau/Empura/Sema และ“Tor douronensis หรือ Tor tambra” Ikan Kelah Biru
การลดลงของประชากรของสายพันธุ์นี้ในป่าที่ราคาในตลาดเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเท่าที่สหรัฐฯ
$
80 และ $ 240 / กก.
เมื่อขายเป็นอาหารหรือปลาสวยงามตามลำดับ ร้านอาหารในกัวลาลัมเปอร์มีข่าวขายอาหาร
มาห์เซียร์ของมาเลเซียได้ถึง $ 260 / กก.
ดังนั้นขณะนี้เป็นที่น่าสนใจมากในทางชีววิทยาของปลานี้และการขยายพันธุ์เทียมทั้งการอนุรักษ์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ในมาเลเชียครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จเพาะพันธุ์ของสายพันธุ์นี้มีรายงานในปี
2005 อย่างไรก็ตามการเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในปี 2006 ที่ศูนย์ส่งเสริมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมงมาเลเซียใน เปรัค, จารันตู, รัฐปะหัง
สำหรับในประเทศไทยมีการเพาะพันธ์ได้มานานโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรีและโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา
แต่ยังไม่มีการทำการส่งเสริมเป็นการค้าในเชิงพาณิชย์
การเพาะเลี้ยงปลาพลวง
โดยเฉพาะ T. tambroides เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดนั้น
แม้จะมีความสำเร็จที่ผ่านมาในเหนี่ยวนำให้เกิดการวางไข่ของบ่อเลี้ยง
แต่ปริมาณของการเพาะเลี้ยงได้ยังคงมีขนาดน้อยเกินไปที่จะตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ดังนั้นส่วนใหญ่ฟาร์ม mahseer ทั้งไทยและ
มาเลเซียยังคงพึ่งพาลูกปลาที่จับมาป่าเป็นหลัก
ในระยะยาวการปฏิบัตินี้ไม่สามารถยั่งยืนหรือขยายโอกาสในการเพาะเลี้ยงได้
อำเภอเบตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา ที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันการาคีรี
มีเนื้อที่ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140
กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงจึงทำให้เบตงมีอากาศดี
และมีหมอกตลอดปี และด้วยคุณภาพน้ำ
อากาศและลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษนี้เองทำให้ปลาบางชนิดเจริญเติบโตได้ดี
นักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเข้ามาเที่ยวในอำเภอเบตงมากกว่า
500,000
คนต่อปี ทำให้เบตงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการจำหน่ายสินค้าราคาแพงได้
และเมื่อประสานกับความเป็นวัฒนธรรมอาหารที่เป็นสมบัติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยทำให้เป็นเรื่องเล่าที่เป็นจุดขายเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบได้ดี
คำถามที่ว่าปลากิโลกรมละสามพันจะขายให้ใครกิน อำเภอเบตงเป็นคำตอบที่ท้าทาย
ในขณะเดียวกันคุณภาพ การจัดการและการตลาด สิ่งเหล่านี้จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายนักส่งเสริมอาชีพว่าจะช่วยให้เกษตรกรจะขายปลาราคาแพงได้อย่างไร
การพัฒนาทดลองเลี้ยงปลาพลวงชมพู
กรมประมงดำเนินโครงการพัฒนาทดลองให้เกษตรกรทดลองเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดยะลาตั้งแต่ปีงบประมาณ
2558 ด้วยแผนงาน ดำเนินการตามกรอบข้อตกลงของการพัฒนาของประชาคมอาเซียน
กิจกรรม/โครงการ พัฒนาภาคการประมงสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยดำเนินการกับเกษตรกรพื้นที่อำเภอธารโต
10 ราย และอำเภอเบตง 40 ราย
วัตถุประสงค์
1)
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกตัวใหม่ ที่สามารถทำการตลาดในระดับ premium ได้
2) เป็นสัตว์น้ำที่สามารถสร้างมูลค่า
และมีผลต่อการจัดการในระดับพื้นที่ได้ (มุ่งสู่การจัดเป็นสินค้า GI)
ผลการดำเนินการ หน่วยงานของกรมมีจำนวนพ่อแม่พันธุ์ที่สามารถผลิตปลาจำหน่ายหรือสนับสนุนโครงการได้
พันธุ์ปลาที่กรมประมงนำไปทำการส่งเสริมสามารถเจริญเติบโตได้ในบ่อเลี้ยงของเกษตรกร
และเป็นที่สนใจกับประชาชนทั้งนอกและในพื้นที่เข้ามาเยี่ยมชมดูงาน
และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานความมั่นคง
ขั้นตอนการดำเนินงานขณะนี้กำลังทำการจัดการเรื่องการส่งเสริมการตลาด
การจัดการ Demand-Supply
การจัดการในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเฉพาะ
ไปพร้อมกับการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง
ลักษณะการเลี้ยงปลาพลวงชมพู
การเลี้ยงปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงในระบบน้ำไหลทั้งในบ่อดินและบ่อซิเมนต์
แต่เกษตรกรนิยมเลี้ยงในบ่อดินมากกว่า
เนื่องจากเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่จึงต้องทำการปรับพฤติกรรมการตื่นตกง่ายแล้วไม่ยอมกินอาหารเสียก่อน
โดยเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลานิล ปลาจีน เพื่อให้ปลาเหล่านั้นเป็นตัวนำพาพลวงชมพูขึ้นกินอาหารขึ้นกินอาหารขณะนี้ยังจึงไม่นิยมเลี้ยงเชิงเดี๋ยว
ปลาพลวงชมพูจะเจริญเติบโตช้าในช่วงแรก
แต่เมื่อผ่านระยะเวลาหนึ่งไปแล้วจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอาหารที่ใช้เป็นอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลานิล (ปกติปลาชนิดนี้หากินที่พื้นท้องน้ำในธรรมชาติ
กินสาหร่าย พืชน้ำ แมลง กุ้ง หอย ทาก ไส้เดือนและปลาเล็กปลาน้อยบางชนิด
รวมถึงการกินผลไม้หล่นลงในแม่น้ำ
แต่ในบ่อเลี้ยงที่ปลาเหล่านี้สามารถได้รับฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดลอยน้ำ
ซึ่งในระบบการผลิตให้ประสบความสำเร็จ
การสร้างระบบโภชนาการที่สมดุลเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การผลิตของสุขภาพผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
ในการเลี้ยงปลาทั่วไป 50 ถึง 70%
ของต้นทุนการผลิตที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้อาหาร
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (สำหรับปลา mahseer
อาหารปลาเป็นเรื่องสำคัญมาก
ที่จำเป็นต้องให้ตรงกับความต้องการทางโภชนาการของปลา ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่จำเป็นแหล่งที่มาและผลกระทบในด้านสรีรวิทยาของสายพันธุ์)
ธาตุอาหารหลักที่สำคัญที่สำคัญคือ โปรตีนไขมันและคาร์โบไฮเดรต)
ปัญหาและอุปสรรค
1) ปลาพลวงชมพูไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงเชิงเดี่ยว หากไม่เข้าใจอาจก็ให้เกิด
ความเสียหายกับเกษตรกร เช่น การส่งเสริมแบบปั่นราคาได้
2)
การได้รับความสนใจมากเกินไป และมีการนำเข้าลูกปลาจากต่างประเทศ
อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณในตลาดได้จะทำให้ราคาตก