วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ทางเลือก เลี้ยงปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงชมพู


ปลาพลวงชมพู หรืออีกันกือเลาะ เป็นปลามาห์เซียร์ที่มีสีสันสวยงาม ครีบเป็นสีชมพูจนถึงแดงสด ในประเทศไทย พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก พบมากโดยเฉพาะในน้ำตกฮาลา-บาลา ภายในอุทยานแห่งชาติฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เป็นปลาที่มีรสชาติดี กินได้ถึงเกร็ด เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละกว่า 1,000 บาท มีชื่อเรียกเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า "กือเลาะฮ" หรือ "กือเลาะฮแมเลาะฮ"
ในปี พ.ศ. 2524 ปลาพลวงชมพูอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนบางลาง ทำให้สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ ต่อมามีการรวบรวมพันธุ์ปลาจากคลองฮาลา-บาลาเพื่อเพาะขยายพันธุ์ แต่ก็ยังเพาะได้น้อยมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเขื่อนบางลางและได้ทรงปล่อยพันธุ์ปลาลงเขื่อน ต่อมาทรงมีพระราชดำริให้มีหาปลาพลวงชมพูมาเลี้ยงไว้ในฟาร์มพระราชดำริ จนกระทั่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้มากแล้วในปัจจุบันโดยสถานีประมงจังหวัด ยะลา และถือเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา

ชนิดของปลากือเลาะห์

อีแกกือเลาะห์ เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลามาห์เซียร์  ในภาษามลายู ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ 3 สายพันธุ์หลักของ Tor tambroides, T. douronensis และT. tambraอาศัยอยู่ในต้นน้ำและไหลอย่างรวดเร็วน้ำเย็น และมีเกาะแก่ง เช่นเดียวกับ มาห์เซียร์ในประเทศอื่น ๆ ในมาเลเชีย มาห์เซียร์เป็นที่นิยมมาก แต่มาห์เซียร์ ของมาเลเซียได้ลดลงอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมรบกวนของมนุษย์ของระบบนิเวศทางน้ำและตกปลามากเกินไป อีแกกือเลาะห์ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามชนิดย่อยอีก เช่น "Tor tambroides" Ikan Kelah Merah “Tor duoronensis” Ikan Kelah Hijau/Empura/Sema  และ“Tor douronensis หรือ Tor tambra” Ikan Kelah Biru
การลดลงของประชากรของสายพันธุ์นี้ในป่าที่ราคาในตลาดเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเท่าที่สหรัฐฯ $ 80 และ $ 240 / กก. เมื่อขายเป็นอาหารหรือปลาสวยงามตามลำดับ ร้านอาหารในกัวลาลัมเปอร์มีข่าวขายอาหาร มาห์เซียร์ของมาเลเซียได้ถึง $ 260 / กก. ดังนั้นขณะนี้เป็นที่น่าสนใจมากในทางชีววิทยาของปลานี้และการขยายพันธุ์เทียมทั้งการอนุรักษ์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ในมาเลเชียครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จเพาะพันธุ์ของสายพันธุ์นี้มีรายงานในปี 2005 อย่างไรก็ตามการเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในปี 2006 ที่ศูนย์ส่งเสริมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมงมาเลเซียใน เปรัค, จารันตู, รัฐปะหัง สำหรับในประเทศไทยมีการเพาะพันธ์ได้มานานโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรีและโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา แต่ยังไม่มีการทำการส่งเสริมเป็นการค้าในเชิงพาณิชย์
การเพาะเลี้ยงปลาพลวง โดยเฉพาะ T. tambroides เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดนั้น แม้จะมีความสำเร็จที่ผ่านมาในเหนี่ยวนำให้เกิดการวางไข่ของบ่อเลี้ยง แต่ปริมาณของการเพาะเลี้ยงได้ยังคงมีขนาดน้อยเกินไปที่จะตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้นส่วนใหญ่ฟาร์ม mahseer ทั้งไทยและ มาเลเซียยังคงพึ่งพาลูกปลาที่จับมาป่าเป็นหลัก ในระยะยาวการปฏิบัตินี้ไม่สามารถยั่งยืนหรือขยายโอกาสในการเพาะเลี้ยงได้
 เลี้ยงปลาพลวงชมพูทำไมต้องอำเภอเบตง
อำเภอเบตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา ที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันการาคีรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงจึงทำให้เบตงมีอากาศดี และมีหมอกตลอดปี และด้วยคุณภาพน้ำ อากาศและลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษนี้เองทำให้ปลาบางชนิดเจริญเติบโตได้ดี
นักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเข้ามาเที่ยวในอำเภอเบตงมากกว่า 500,000 คนต่อปี ทำให้เบตงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการจำหน่ายสินค้าราคาแพงได้ และเมื่อประสานกับความเป็นวัฒนธรรมอาหารที่เป็นสมบัติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยทำให้เป็นเรื่องเล่าที่เป็นจุดขายเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบได้ดี คำถามที่ว่าปลากิโลกรมละสามพันจะขายให้ใครกิน อำเภอเบตงเป็นคำตอบที่ท้าทาย ในขณะเดียวกันคุณภาพ การจัดการและการตลาด สิ่งเหล่านี้จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายนักส่งเสริมอาชีพว่าจะช่วยให้เกษตรกรจะขายปลาราคาแพงได้อย่างไร

การพัฒนาทดลองเลี้ยงปลาพลวงชมพู
กรมประมงดำเนินโครงการพัฒนาทดลองให้เกษตรกรทดลองเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดยะลาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 ด้วยแผนงาน ดำเนินการตามกรอบข้อตกลงของการพัฒนาของประชาคมอาเซียน กิจกรรม/โครงการ พัฒนาภาคการประมงสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยดำเนินการกับเกษตรกรพื้นที่อำเภอธารโต  10 ราย และอำเภอเบตง 40 ราย
วัตถุประสงค์
1) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกตัวใหม่ ที่สามารถทำการตลาดในระดับ premium ได้
2) เป็นสัตว์น้ำที่สามารถสร้างมูลค่า และมีผลต่อการจัดการในระดับพื้นที่ได้ (มุ่งสู่การจัดเป็นสินค้า GI)
ผลการดำเนินการ หน่วยงานของกรมมีจำนวนพ่อแม่พันธุ์ที่สามารถผลิตปลาจำหน่ายหรือสนับสนุนโครงการได้ พันธุ์ปลาที่กรมประมงนำไปทำการส่งเสริมสามารถเจริญเติบโตได้ในบ่อเลี้ยงของเกษตรกร และเป็นที่สนใจกับประชาชนทั้งนอกและในพื้นที่เข้ามาเยี่ยมชมดูงาน และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานความมั่นคง
ขั้นตอนการดำเนินงานขณะนี้กำลังทำการจัดการเรื่องการส่งเสริมการตลาด การจัดการ Demand-Supply การจัดการในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเฉพาะ ไปพร้อมกับการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง
ลักษณะการเลี้ยงปลาพลวงชมพู
การเลี้ยงปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงในระบบน้ำไหลทั้งในบ่อดินและบ่อซิเมนต์ แต่เกษตรกรนิยมเลี้ยงในบ่อดินมากกว่า เนื่องจากเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่จึงต้องทำการปรับพฤติกรรมการตื่นตกง่ายแล้วไม่ยอมกินอาหารเสียก่อน โดยเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลานิล ปลาจีน เพื่อให้ปลาเหล่านั้นเป็นตัวนำพาพลวงชมพูขึ้นกินอาหารขึ้นกินอาหารขณะนี้ยังจึงไม่นิยมเลี้ยงเชิงเดี๋ยว ปลาพลวงชมพูจะเจริญเติบโตช้าในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านระยะเวลาหนึ่งไปแล้วจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอาหารที่ใช้เป็นอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลานิล (ปกติปลาชนิดนี้หากินที่พื้นท้องน้ำในธรรมชาติ กินสาหร่าย พืชน้ำ แมลง กุ้ง หอย ทาก ไส้เดือนและปลาเล็กปลาน้อยบางชนิด รวมถึงการกินผลไม้หล่นลงในแม่น้ำ แต่ในบ่อเลี้ยงที่ปลาเหล่านี้สามารถได้รับฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปชนิดลอยน้ำ ซึ่งในระบบการผลิตให้ประสบความสำเร็จ การสร้างระบบโภชนาการที่สมดุลเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การผลิตของสุขภาพผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
ในการเลี้ยงปลาทั่วไป 50 ถึง 70% ของต้นทุนการผลิตที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้อาหาร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (สำหรับปลา mahseer อาหารปลาเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จำเป็นต้องให้ตรงกับความต้องการทางโภชนาการของปลา ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่จำเป็นแหล่งที่มาและผลกระทบในด้านสรีรวิทยาของสายพันธุ์) ธาตุอาหารหลักที่สำคัญที่สำคัญคือ โปรตีนไขมันและคาร์โบไฮเดรต)
 
ปัญหาและอุปสรรค
1) ปลาพลวงชมพูไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงเชิงเดี่ยว หากไม่เข้าใจอาจก็ให้เกิด ความเสียหายกับเกษตรกร เช่น การส่งเสริมแบบปั่นราคาได้
2) การได้รับความสนใจมากเกินไป และมีการนำเข้าลูกปลาจากต่างประเทศ อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณในตลาดได้จะทำให้ราคาตก


วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาทดลองเลี้ยงปลาพลวงชมพู

  ดังที่ทราบ ปลาพลวงชมพูเป็นปลาที่เลี้ยงได้ทั่วไป แต่จะให้มีสีสันสวยงาม น่ารับประทานจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านตลอดเวลา ลองมาดูเกษตรกรที่เป็น เกษตรกรที่ทดลองเลี้ยงปลาพลวงชมพูดูครับ

ระบบน้ำ

เกษตรกรแบ่งนำจากลำนำส่วนหนึ่งแล้วต่อท่อเข้าสู่บ่อเลี้ยง ทั้งนี้เกษตรกรได้ออกแบบระบบที่ทำให้เกิดระบบสูญญากาศภายในท่อ ซึ่งจะทำให้เกิดคล้ายปั้มน้ำตลอดเวลา โดยไม่ต้องใช้พลังงาน จากนั้นน้ำก็จะถูกกระจายไปตามท่อต่างๆ จากบ่อแรก จนถึงบ่อสุดท้าย จากนั้นน้ำจะไหลกลับเข้าลำนำ้ตามเดิม

บ่อเลี้ยง

บ่อเลี้ยงเป็นการพัฒนาจากบ่อเลี้ยงปลาจีนเดิม ลักษณะบ่อส่วนมากมีลักษณะสี่เหลี่ยม แต่บางแห่งก็ปรับตามลักษณะของพื้นที่ ตัวบ่อจะฉาบปูนเฉพาะขอบบ่อ ส่วนพื้นบ่อไม่ฉาบ เหตุที่ต้องฉาบเฉพาะขอบเพราะป้องกันขอบบ่อพัง ส่วนการไม่ฉาบที่พื้นบ่อมีข้อดีคือ อาหารและขี้ปลาจะถูกบำบัดโดยธรรมชาติ

 


โอกาสและช่องทางการตลาด

โอกาสและช่องทางการตลาปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงชมพูเป็นปลาที่มีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในมาเลเชีย สิงคโปร์และอินโดนีเชีย 
การเลี้ยงปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงได้ทั่วไปทั้งประเทศ แต่จะให้ได้ผลดีสีสันสวยงามควรเป็นพื้นที่ที่มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านทั้งปี และหากอยากจะส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกเลี้ยงในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการตลาด เช่น อำเภอเบตงที่มีจุดเด่นคือ
1. พื้นที่เลี้ยงมีความเหมาะสม มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านทั้งปี
2. เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งจีนมาเลย์ สิงคโปร์มีกำลังซื้อ
3. เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมด้านการบริโภคปลา มีเชฟอาหารจีนที่ฝีมือดี
4. พื้นที่เลี้ยงไม่ใกล้ร้านอาหารมาก ทำให้อาหารสดใหม่ การกินปลาพลวงชมพูให้อร่อยนั้นจะต้องใช้ปลาสด แล้วนำมาปลุงอาหารทันทีจะได้รสชาดที่หวานเนื้อปลามาก ที่สำคัญไม่ว่าจะนึ่ง ต้มหรือทอด สามารถทานได้ถึงเกร็ด
5. เกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาของอำเภอเบตง มีประสบการณ์การเลี้ยงปลาจีนอยู่แล้ว สามารถนำประสการณ์ที่มีมาปรับใช้ในการเลี้ยงปลาพลวงชมพูได้
6. เกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลอยู่แล้ว สามารถเลี้ยงปลาพลวงชมพูควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลานิลได้ โดยหลักคิดที่ว่า "เลี้ยงปลานิลเป็นเงินหมุนเวียนในครัวเรือน เลี้ยงปลาพลวงชมพูเป็นเงินเก็บ"

ข้อด้อยของการเลี้ยงปลาพลวงชมพู
1. เกษตรกรหาลูกพันธ์ุยาก เพราะปลาชนิดนี้มีระยะเวลาที่ไข่สุกที่ไม่พร้อมกัน 
2. พ่อพันธุ์/แม่พันธุ์ ขนาดใหญ่จากบ่อเพาะเลี้ยงยังมีปริมาณน้อ
3. การที่จะเลี้ยงให้คุ้มทุนในระยะสั้นทำได้ยาก เพราะจำนวนลูกปลาที่ปล่อยลงในบ่อจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับบ่อเลี้ยง การผลิตลูกปลาได้น้อยจึงยังไม่ตอบโจทย์ความคุ้มทุนในระยะแรก
4. การเลี้ยงในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จะไม่มีสีสันที่สวยงามน่ารับประทานปลาพลวงชมพู
 
การประเมินผล การสำรวจตลาด
1. การสำรวจตลาดและการกำหนด Market positioning ของปลาพลวงชมพู  จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ปลาพลวงชมพูน่าจะมีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เป็นอาชีพในพื้นที่อำเภอเบตงและธารโต จังหวัดยะลา ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นสัตว์น้ำระดับบน (premium grade) ในการส่งตลาดเฉพาะ (niche market) เนื่องจากเป็นปลาที่สามารถจำหน่ายได้ในราคาแพง ตลาดมีความต้องการ ลูกค้าหรือผู้บริโภคมีความสามารถในการจ่ายซื้อปลา แต่ไม่มีสินค้าในตลาด เกษตรกรให้ความสนใจเลี้ยง โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนเลี้ยงปลาจีนอยู่แล้ว เนื่องจากราคาสูงกว่าปลาจีนมากดังนั้น การเลี้ยงปลาพลวงชมพูเหมาะเป็นการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เช่น เกษตรกรเลี้ยงปลานิลหรือปลาจีนอยู่แล้ว และทำการเลี้ยงปลาพลวงชมพูเสริม เพราะการเลี้ยงจะใช้เวลานานกว่าปลาชนิดอื่น ประกอบกับประชาชนนิยมบริโภคปลาที่มีขนาดใหญ่ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ขนาดใหญ่จึงจะขายได้ในราคาแพง

2. การติดตามการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ที่เลี้ยงในบ่อปูนพบว่า เพศผู้แข็งแรงและมีน้ำเชื้อดี แต่เพศเมียไม่มีไข่

การเพาะพันธุ์ปลาพลวงชมพู
สามารถ สืบค้นได้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา http://www.fisheries.go.th/sf-yala/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=39&Itemid=64

ตามไปหา...ปลาพลวงชมพู





  ปลาพลวงชมพูหรือปลาเงียน (Smith. 1945) 
ปลาพลวงชมพูมีชื่อเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างว่า “ ปลากือเลาะห์” หรือ “ อีแกกือเลาะห์” เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ ปลาเวียน และ ปลาพลวงหิน ที่เป็นที่รู้จักกันดีในภาคอื่นๆ  ตามธรรมชาติปลาชนิดนี้จะมีครีบสีส้มแดง เมื่อนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อสีจะจางลงจนเป็นสีชมพู ในด้านอนุกรมวิธานสามารถจำแนกทางชีววิทยาได้ดังนี้


    Class : Pisces
        Subclass : Teleoste
            Order : Eventognathi
                Family : Cyprinidae (Carps)
                    Subfamily : Cyprininas
                        Genus : Tor


การเลี้ยงปลาพลวงชมพูที่เบตง
อำเภอเบตง
              เบตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันการาคีรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงจึงทำให้เบตงมีอากาศดี และมีหมอกตลอดปี ดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน


                                                       ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง

  ด้วยภูมิประเทศที่เห็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับที่ราบทำให้อำเภอเบตงมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวอย่างสูง ถ้าเทียบๆกับแหล่งที่มีชื่อเสียง น่าจะเทียบได้กับเมืองโออิตะ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นต้นทางของหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (one village, one product) หรือที่ประเทศไทยนำมาเป็นต้นแบบหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกย่อว่า โอทอป/OTOP) นั่นเอง ที่นี่ เบตงนี่เองสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เพราะมีทรัพยากรหลากหลาย ผลผลิตทางการเกษตรหลากชนิด เช่น ไก่เบตง ส้มโชกุนเบตง สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาสร้างหมู่บ้านไก่ หมู่บ้านส้มโชกุนได้ นอกจากนี้เบตงยังมีเรื่องเหล่าทางวัฒนธรรมผสมผสานที่มีมากอย่างยาวนาน เมืองสงบท่ามกลางหุบเข้าจะเป็นแหล่งต้อนรับผู้มาเยือนทั้งไทยและต่างประเทศ ประมาณว่ามีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียมาเที่ยวเบตงปีละหลายหมื่นคนทีเดียว การเป็นเมืองท่องเที่ยวของเบตง ที่คนเข้ามาท่องเที่ยวเมืองอาหารอร่อย สิ่งที่โดดเด่นคือ การมีวัตถุดิบที่อยู่ในเขตพื้นที่ผลิต/เลี้ยงที่ห่างจากตัวเมืองไม่เกิน 15 กิโลเมตร ทำให้วัตถุดิบนั้นมีความสดใหม่เกินคำบรรยาย
           แต่..สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของเบตงที่หลายคนคงทราบกันไม่มากนักคือ พื้นที่เล็กๆตามที่ราบเชิงเขาของเบตง เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำมาช้านาน สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงของอำเภอเบตงคือปลาจีน หรือปลาเฉา เป็นปลาที่มีราคาแพง ใครไปเยือนเมืองเบตงก็อดไม่ได้ที่จะต้องสั่งมารับประทาน เมนูแนะนำครับ ว่ากันว่า "ถ้าไปเที่ยวเบตงแล้วไม่ได้ทานปลาจีนเบตง มากันไม่ถึงทีเดียว" ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงปลาจีนถูกปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาด เกษตรกรนำปลานิลมากเลี้ยงควบคู่ไปด้วย เพราะปลานิลสามารถขายได้ทุกๆวัน โดยเกษตรกรจับกลุ่มกันผลิตปลานิลคุณภาพดีออกจำหน่าย ปลานิลเบตงถูกนำมาเลี้ยงในระบบน้ำไหล ไม่มีเศษอาหารหรือดินตะกอนตกค้างในบ่อทำให้เนื้อปลาไม่มีกลิ่นโคลนในเนื้อ ทำให้จำหน่ายได้ราคาดีและเป็นที่นิยม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ราคาปลานิลเบตงจึงสูงกว่าปลาที่เลี้ยงในเขตพื้นที่อื่นๆ ราคาขณะนี้ปากบ่อจำหน่ายได้ 90-100 บาทต่อกิโลกรัมทีเดียว ที่สำคัญปลานิลเบตงต้องกินตัวใหญ่ครับ ขนาดที่จับขายกันจะเป็นขนาด 1.3-1.4 กิโลกรัมต่อตัว
           ต่อมา...เกษตรกรหัวก้าวหน้ากลุ่มหนึ่ง เริ่มมองหาสัตว์น้ำชนิดใหม่ที่นิยมรับประทาน และให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน ข้อสรุปตกลงที่ ปลาพลวงชมพูหรือ “ ปลากือเลาะห์” ว่ากันว่า เป็นปลาที่แพงมากในมาเลเซีย น่าจะนำมาเลี้ยงพวกเขาคิดว่าเลี้ยงได้เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์การเลี้ยงปลาจีนมาก่อนหน้านี้อยู่แล้วแล้ว