วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาทดลองเลี้ยงปลาพลวงชมพู

  ดังที่ทราบ ปลาพลวงชมพูเป็นปลาที่เลี้ยงได้ทั่วไป แต่จะให้มีสีสันสวยงาม น่ารับประทานจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านตลอดเวลา ลองมาดูเกษตรกรที่เป็น เกษตรกรที่ทดลองเลี้ยงปลาพลวงชมพูดูครับ

ระบบน้ำ

เกษตรกรแบ่งนำจากลำนำส่วนหนึ่งแล้วต่อท่อเข้าสู่บ่อเลี้ยง ทั้งนี้เกษตรกรได้ออกแบบระบบที่ทำให้เกิดระบบสูญญากาศภายในท่อ ซึ่งจะทำให้เกิดคล้ายปั้มน้ำตลอดเวลา โดยไม่ต้องใช้พลังงาน จากนั้นน้ำก็จะถูกกระจายไปตามท่อต่างๆ จากบ่อแรก จนถึงบ่อสุดท้าย จากนั้นน้ำจะไหลกลับเข้าลำนำ้ตามเดิม

บ่อเลี้ยง

บ่อเลี้ยงเป็นการพัฒนาจากบ่อเลี้ยงปลาจีนเดิม ลักษณะบ่อส่วนมากมีลักษณะสี่เหลี่ยม แต่บางแห่งก็ปรับตามลักษณะของพื้นที่ ตัวบ่อจะฉาบปูนเฉพาะขอบบ่อ ส่วนพื้นบ่อไม่ฉาบ เหตุที่ต้องฉาบเฉพาะขอบเพราะป้องกันขอบบ่อพัง ส่วนการไม่ฉาบที่พื้นบ่อมีข้อดีคือ อาหารและขี้ปลาจะถูกบำบัดโดยธรรมชาติ

 


โอกาสและช่องทางการตลาด

โอกาสและช่องทางการตลาปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงชมพูเป็นปลาที่มีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในมาเลเชีย สิงคโปร์และอินโดนีเชีย 
การเลี้ยงปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงได้ทั่วไปทั้งประเทศ แต่จะให้ได้ผลดีสีสันสวยงามควรเป็นพื้นที่ที่มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านทั้งปี และหากอยากจะส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกเลี้ยงในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการตลาด เช่น อำเภอเบตงที่มีจุดเด่นคือ
1. พื้นที่เลี้ยงมีความเหมาะสม มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านทั้งปี
2. เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งจีนมาเลย์ สิงคโปร์มีกำลังซื้อ
3. เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมด้านการบริโภคปลา มีเชฟอาหารจีนที่ฝีมือดี
4. พื้นที่เลี้ยงไม่ใกล้ร้านอาหารมาก ทำให้อาหารสดใหม่ การกินปลาพลวงชมพูให้อร่อยนั้นจะต้องใช้ปลาสด แล้วนำมาปลุงอาหารทันทีจะได้รสชาดที่หวานเนื้อปลามาก ที่สำคัญไม่ว่าจะนึ่ง ต้มหรือทอด สามารถทานได้ถึงเกร็ด
5. เกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาของอำเภอเบตง มีประสบการณ์การเลี้ยงปลาจีนอยู่แล้ว สามารถนำประสการณ์ที่มีมาปรับใช้ในการเลี้ยงปลาพลวงชมพูได้
6. เกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลอยู่แล้ว สามารถเลี้ยงปลาพลวงชมพูควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลานิลได้ โดยหลักคิดที่ว่า "เลี้ยงปลานิลเป็นเงินหมุนเวียนในครัวเรือน เลี้ยงปลาพลวงชมพูเป็นเงินเก็บ"

ข้อด้อยของการเลี้ยงปลาพลวงชมพู
1. เกษตรกรหาลูกพันธ์ุยาก เพราะปลาชนิดนี้มีระยะเวลาที่ไข่สุกที่ไม่พร้อมกัน 
2. พ่อพันธุ์/แม่พันธุ์ ขนาดใหญ่จากบ่อเพาะเลี้ยงยังมีปริมาณน้อ
3. การที่จะเลี้ยงให้คุ้มทุนในระยะสั้นทำได้ยาก เพราะจำนวนลูกปลาที่ปล่อยลงในบ่อจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับบ่อเลี้ยง การผลิตลูกปลาได้น้อยจึงยังไม่ตอบโจทย์ความคุ้มทุนในระยะแรก
4. การเลี้ยงในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จะไม่มีสีสันที่สวยงามน่ารับประทานปลาพลวงชมพู
 
การประเมินผล การสำรวจตลาด
1. การสำรวจตลาดและการกำหนด Market positioning ของปลาพลวงชมพู  จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ปลาพลวงชมพูน่าจะมีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เป็นอาชีพในพื้นที่อำเภอเบตงและธารโต จังหวัดยะลา ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นสัตว์น้ำระดับบน (premium grade) ในการส่งตลาดเฉพาะ (niche market) เนื่องจากเป็นปลาที่สามารถจำหน่ายได้ในราคาแพง ตลาดมีความต้องการ ลูกค้าหรือผู้บริโภคมีความสามารถในการจ่ายซื้อปลา แต่ไม่มีสินค้าในตลาด เกษตรกรให้ความสนใจเลี้ยง โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนเลี้ยงปลาจีนอยู่แล้ว เนื่องจากราคาสูงกว่าปลาจีนมากดังนั้น การเลี้ยงปลาพลวงชมพูเหมาะเป็นการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เช่น เกษตรกรเลี้ยงปลานิลหรือปลาจีนอยู่แล้ว และทำการเลี้ยงปลาพลวงชมพูเสริม เพราะการเลี้ยงจะใช้เวลานานกว่าปลาชนิดอื่น ประกอบกับประชาชนนิยมบริโภคปลาที่มีขนาดใหญ่ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ขนาดใหญ่จึงจะขายได้ในราคาแพง

2. การติดตามการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ที่เลี้ยงในบ่อปูนพบว่า เพศผู้แข็งแรงและมีน้ำเชื้อดี แต่เพศเมียไม่มีไข่

การเพาะพันธุ์ปลาพลวงชมพู
สามารถ สืบค้นได้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา http://www.fisheries.go.th/sf-yala/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=39&Itemid=64

ตามไปหา...ปลาพลวงชมพู





  ปลาพลวงชมพูหรือปลาเงียน (Smith. 1945) 
ปลาพลวงชมพูมีชื่อเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างว่า “ ปลากือเลาะห์” หรือ “ อีแกกือเลาะห์” เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ ปลาเวียน และ ปลาพลวงหิน ที่เป็นที่รู้จักกันดีในภาคอื่นๆ  ตามธรรมชาติปลาชนิดนี้จะมีครีบสีส้มแดง เมื่อนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อสีจะจางลงจนเป็นสีชมพู ในด้านอนุกรมวิธานสามารถจำแนกทางชีววิทยาได้ดังนี้


    Class : Pisces
        Subclass : Teleoste
            Order : Eventognathi
                Family : Cyprinidae (Carps)
                    Subfamily : Cyprininas
                        Genus : Tor


การเลี้ยงปลาพลวงชมพูที่เบตง
อำเภอเบตง
              เบตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันการาคีรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงจึงทำให้เบตงมีอากาศดี และมีหมอกตลอดปี ดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน


                                                       ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง

  ด้วยภูมิประเทศที่เห็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับที่ราบทำให้อำเภอเบตงมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวอย่างสูง ถ้าเทียบๆกับแหล่งที่มีชื่อเสียง น่าจะเทียบได้กับเมืองโออิตะ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นต้นทางของหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (one village, one product) หรือที่ประเทศไทยนำมาเป็นต้นแบบหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกย่อว่า โอทอป/OTOP) นั่นเอง ที่นี่ เบตงนี่เองสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เพราะมีทรัพยากรหลากหลาย ผลผลิตทางการเกษตรหลากชนิด เช่น ไก่เบตง ส้มโชกุนเบตง สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาสร้างหมู่บ้านไก่ หมู่บ้านส้มโชกุนได้ นอกจากนี้เบตงยังมีเรื่องเหล่าทางวัฒนธรรมผสมผสานที่มีมากอย่างยาวนาน เมืองสงบท่ามกลางหุบเข้าจะเป็นแหล่งต้อนรับผู้มาเยือนทั้งไทยและต่างประเทศ ประมาณว่ามีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียมาเที่ยวเบตงปีละหลายหมื่นคนทีเดียว การเป็นเมืองท่องเที่ยวของเบตง ที่คนเข้ามาท่องเที่ยวเมืองอาหารอร่อย สิ่งที่โดดเด่นคือ การมีวัตถุดิบที่อยู่ในเขตพื้นที่ผลิต/เลี้ยงที่ห่างจากตัวเมืองไม่เกิน 15 กิโลเมตร ทำให้วัตถุดิบนั้นมีความสดใหม่เกินคำบรรยาย
           แต่..สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของเบตงที่หลายคนคงทราบกันไม่มากนักคือ พื้นที่เล็กๆตามที่ราบเชิงเขาของเบตง เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำมาช้านาน สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงของอำเภอเบตงคือปลาจีน หรือปลาเฉา เป็นปลาที่มีราคาแพง ใครไปเยือนเมืองเบตงก็อดไม่ได้ที่จะต้องสั่งมารับประทาน เมนูแนะนำครับ ว่ากันว่า "ถ้าไปเที่ยวเบตงแล้วไม่ได้ทานปลาจีนเบตง มากันไม่ถึงทีเดียว" ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงปลาจีนถูกปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาด เกษตรกรนำปลานิลมากเลี้ยงควบคู่ไปด้วย เพราะปลานิลสามารถขายได้ทุกๆวัน โดยเกษตรกรจับกลุ่มกันผลิตปลานิลคุณภาพดีออกจำหน่าย ปลานิลเบตงถูกนำมาเลี้ยงในระบบน้ำไหล ไม่มีเศษอาหารหรือดินตะกอนตกค้างในบ่อทำให้เนื้อปลาไม่มีกลิ่นโคลนในเนื้อ ทำให้จำหน่ายได้ราคาดีและเป็นที่นิยม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ราคาปลานิลเบตงจึงสูงกว่าปลาที่เลี้ยงในเขตพื้นที่อื่นๆ ราคาขณะนี้ปากบ่อจำหน่ายได้ 90-100 บาทต่อกิโลกรัมทีเดียว ที่สำคัญปลานิลเบตงต้องกินตัวใหญ่ครับ ขนาดที่จับขายกันจะเป็นขนาด 1.3-1.4 กิโลกรัมต่อตัว
           ต่อมา...เกษตรกรหัวก้าวหน้ากลุ่มหนึ่ง เริ่มมองหาสัตว์น้ำชนิดใหม่ที่นิยมรับประทาน และให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน ข้อสรุปตกลงที่ ปลาพลวงชมพูหรือ “ ปลากือเลาะห์” ว่ากันว่า เป็นปลาที่แพงมากในมาเลเซีย น่าจะนำมาเลี้ยงพวกเขาคิดว่าเลี้ยงได้เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์การเลี้ยงปลาจีนมาก่อนหน้านี้อยู่แล้วแล้ว