โอกาสและช่องทางการตลาดปลาพลวงชมพู
ปลาพลวงชมพูเป็นปลาที่มีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในมาเลเชีย สิงคโปร์และอินโดนีเชีย
การเลี้ยงปลาพลวงชมพูสามารถเลี้ยงได้ทั่วไปทั้งประเทศ แต่จะให้ได้ผลดีสีสันสวยงามควรเป็นพื้นที่ที่มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านทั้งปี และหากอยากจะส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกเลี้ยงในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการตลาด เช่น อำเภอเบตงที่มีจุดเด่นคือ
1. พื้นที่เลี้ยงมีความเหมาะสม มีอากาศเย็น น้ำไหลผ่านทั้งปี
2. เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งจีนมาเลย์ สิงคโปร์มีกำลังซื้อ
3. เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมด้านการบริโภคปลา มีเชฟอาหารจีนที่ฝีมือดี
4. พื้นที่เลี้ยงไม่ใกล้ร้านอาหารมาก ทำให้อาหารสดใหม่ การกินปลาพลวงชมพูให้อร่อยนั้นจะต้องใช้ปลาสด แล้วนำมาปลุงอาหารทันทีจะได้รสชาดที่หวานเนื้อปลามาก ที่สำคัญไม่ว่าจะนึ่ง ต้มหรือทอด สามารถทานได้ถึงเกร็ด
5. เกษตรกร ผู้เลี้ยงปลาของอำเภอเบตง มีประสบการณ์การเลี้ยงปลาจีนอยู่แล้ว สามารถนำประสบการณ์ที่มีมาปรับใช้ในการเลี้ยงปลาพลวงชมพูได้
6. เกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลอยู่แล้ว สามารถเลี้ยงปลาพลวงชมพูควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลานิลได้ โดยหลักคิดที่ว่า "เลี้ยงปลานิลเป็นเงินหมุนเวียนในครัวเรือน เลี้ยงปลาพลวงชมพูเป็นเงินเก็บ"
ข้อด้อยของการเลี้ยงปลาพลวงชมพู
1. เกษตรกรหาลูกพันธ์ุยาก เพราะปลาชนิดนี้มีระยะเวลาที่ไข่สุกที่ไม่พร้อมกัน
2. พ่อพันธุ์/แม่พันธุ์ ขนาดใหญ่จากบ่อเพาะเลี้ยงยังมีปริมาณน้อย
3. การที่จะเลี้ยงให้คุ้มทุนในระยะสั้นทำได้ยาก เพราะจำนวนลูกปลาที่ปล่อยลงในบ่อจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับบ่อเลี้ยง การผลิตลูกปลาได้น้อยจึงยังไม่ตอบโจทย์ความคุ้มทุนในระยะแรก
4. การเลี้ยงในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จะไม่มีสีสันที่สวยงามน่ารับประทานปลาพลวงชมพู
การประเมินผล
การสำรวจตลาด
1.
การสำรวจตลาดและการกำหนด Market
positioning ของปลาพลวงชมพู จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ปลาพลวงชมพูน่าจะมีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เป็นอาชีพในพื้นที่อำเภอเบตงและธารโต
จังหวัดยะลา ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นสัตว์น้ำระดับบน (premium grade) ในการส่งตลาดเฉพาะ (niche market) เนื่องจากเป็นปลาที่สามารถจำหน่ายได้ในราคาแพง
ตลาดมีความต้องการ ลูกค้าหรือผู้บริโภคมีความสามารถในการจ่ายซื้อปลา แต่ไม่มีสินค้าในตลาด
เกษตรกรให้ความสนใจเลี้ยง โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนเลี้ยงปลาจีนอยู่แล้ว
เนื่องจากราคาสูงกว่าปลาจีนมากดังนั้น
การเลี้ยงปลาพลวงชมพูเหมาะเป็นการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เช่น
เกษตรกรเลี้ยงปลานิลหรือปลาจีนอยู่แล้ว และทำการเลี้ยงปลาพลวงชมพูเสริม
เพราะการเลี้ยงจะใช้เวลานานกว่าปลาชนิดอื่น ประกอบกับประชาชนนิยมบริโภคปลาที่มีขนาดใหญ่
การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ขนาดใหญ่จึงจะขายได้ในราคาแพง
2. การติดตามการเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ที่เลี้ยงในบ่อปูนพบว่า เพศผู้แข็งแรงและมีน้ำเชื้อดี แต่เพศเมียไม่มีไข่
การเพาะพันธุ์ปลาพลวงชมพู
สามารถ
สืบค้นได้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา
http://www.fisheries.go.th/sf-yala/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=39&Itemid=64